วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ

 

           การจัดระบบสารสนเทศเป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานสารสนเทศ  โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ปัญหา  ข้อมูล  วิธีการ ทรัพยากร  เพื่อแก้ปัญหาและประเมินผลลัพธ์ที่ได้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย  4 ขั้นตอน  ดังนี้

 

ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ  (System  Analysis)

      

วิธีการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ   แบ่งออกเป็น  4  หน่วยย่อย  คือ

 

             1)  วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน  (Mission Analysis)  คือ  การพิจารณาทิศทางในการดำเนินการและจุดมุ่งหมายของระบบสารสนเทศ  เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้  ผู้วิเคราะห์ต้องรู้ถึงองค์ประกอบของกระบวนการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศ  โดยกำหนดจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานอย่างกว้างๆ  ให้ครอบคลุมสภาพปัญหาไปสู่สภาพที่พึงประสงค์  เพื่อเป็นเกณฑ์ว่างานนั้นสำเร็จดีหรือไม่  มีปัญหาอุปสรรค  ข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไร

 

            2)  วิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนดไว้ในแนวทางปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารสนเทศ

 

            3)  วิเคราะห์งาน  (Task Analysis)  เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการกระทำตามหน้าที่  ที่ได้กำหนดไว้ในขั้นการวิเคราะห์หน้าที่  การวิเคราะห์หน้าที่และงานเป็นสิ่งขยายขั้นการวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติงาน

 

            4) วิเคราะห์วิธีการและสื่อ  (Method-Means Analysis)  เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติ กลวิธี   และสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย  หรือสิ่งที่ต้องการ

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

1. ระบบและวิธีการเชิงระบบ

           การทำงานใด ๆ ให้ประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นย่อมเกิดจากพื้นฐานวิธีการที่มีลำดับและขั้นตอนชัดเจนสามารถปฏิบัติซ้ำ ๆ ได้หลายครั้งอย่างถูกต้องและสมเหตุสมผลทุกครั้งไป เราเรียกกระบวนการและขั้นตอนนั้นว่า  “ระบบ”

 

           ระบบ (System)  หมายถึง  การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ  อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน  สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน  ระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานหรือการดำเนินงานทุกประเภท

 

          วิธีการเชิงระบบ (System Approach)   วิธีเชิงระบบหรือวิธีระบบคือคำๆเดียวกัน  เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอนฃเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย

ข้อมูลและสารสนเทศ

 

            ดังที่กล่าวมาแล้วว่าการทำงานใด ๆ ที่ได้ผลดีจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องครอบคลุมและตรงประเด็นประกอบการตัดสินใจในการเลือกวัตถุดิบ  เนื้อหาสาระ บุคลากร  และวิธีการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม  โดยการจำแนกแจกแจง  จัดหมวดหมู่และการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องทุกด้าน อย่างเป็นระบบที่เรียกว่าสารสนเทศ จึงนับได้ว่าข้อมูลและสารสนเทศ มีประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบุคคลและหน่วยงาน

 

1. ข้อมูล (data)

            ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรูปภาพ  แสง  สี เสียง  รส  นอกจากนี้ข้อเท็จจริงอาจจะอยู่ในรูปของคุณสมบัติเป็นน้ำหนัก  แรง  อุณหภูมิ จำนวน ซึ่งสามารถแทนค่าด้วยตัวเลข  ตัวอักษรข้อความก็ได้ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มีหลายระดับตั้งแต่ข้อมูลเบื้องต้นหรือข้อมูลดิบจนถึงข้อมูลสารสนเทศ   ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย  ดังนี้

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 2



          1.  คำว่า “ระบบ” และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
          2.  องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
          3.  ระบบสารสนเทศ หมายถึง อะไร
          4.  องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร

ประเภทของระบบสารสนเทศ

 

            การจำแนกสารสนเทศตามจำนวนคนที่เกี่ยวข้องในองค์กร  แบ่งได้  3  ระดับ  คือ  ระบบสารสนเทศระดับบุคคล   ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม และระบบสารสนเทศระดับองค์กร

 

            1. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคล ในหน้าที่รับผิดชอบ  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง  ราคาถูก  แต่มีความสามารถใน  การประมวลผลด้วยความเร็วสูงขึ้น  ประกอบกับมีโปรแกรมสำเร็จที่ทำให้ใช้งานได้ง่าย  กว้างขวางและคุ้มค่ามากขึ้น  เช่น  พนักงานขายควรมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเป็นอย่างดี มีการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า  เช่น  ชื่อ  ที่อยู่  ความสนใจในตัวสินค้า  หรือข้อมูลอื่นๆ  ที่จะสนับสนุนงานขาย  จัดการและควบคุมการทำงานของตนเองได้   เช่น   ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขาย

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

 

          การจำแนกองค์ประกอบ  ระบบสารสนเทศมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับเกณฑ์หรือวัตถุประสงค์ของแต่ละงาน  ในที่นี้จำแนกเป็น  2  ประเภท ได้แก่  องค์ประกอบหลัก  และองค์ประกอบด้านต่าง ๆ

 

3.1 องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ

 

           องค์ประกอบหลักของระบบสานสนเทศ  มีองค์ประกอบหลัก   2  ส่วน   ได้แก่ 

ระบบการคิด  และระบบของเครื่องมือ

 

            ระบบการคิด  หมายถึง  กระบวนการและขั้นตอนในการจัดลำดับ  จำแนก  แจกแจง และจัดหมวดหมู่ข้อมูลต่างๆ  เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเผยแพร่  ระบบการคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้น  ที่สำคัญของงานสารสนเทศทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูงที่มีความสลับซับซ้อนจนต้องใช้ทักษะการจัดการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน

 

            ระบบเครื่องมือ  หมายถึง  วัสดุอุปกรณ์  หรือเครื่องมือ  ที่นำมาใช้ในการรวบรวม   จัดเก็บ และเผยแพร่  สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์  และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในองค์กร  หน่วยงาน หรืองานธุรกรรมต่างๆ  แทบทุกวงการ  จนทำให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสัญลักษณ์ของสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ

 

           ระบบสารสนเทศ (Information System)  คือ  การประมวลผล  ข้อมูล  ข่าวสาร  อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการ เพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นข้อสรุป ที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจ ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลางและระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล ดังต่อไปนี้

 

         1)  รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ที่จำเป็นต่อหน่วยงาน

         2)  จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้

         3)  จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้

        4)  มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันตลอดเวลา