วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ

 

           การจัดระบบสารสนเทศเป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานสารสนเทศ  โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ปัญหา  ข้อมูล  วิธีการ ทรัพยากร  เพื่อแก้ปัญหาและประเมินผลลัพธ์ที่ได้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย  4 ขั้นตอน  ดังนี้

 

ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ  (System  Analysis)

      

วิธีการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ   แบ่งออกเป็น  4  หน่วยย่อย  คือ

 

             1)  วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน  (Mission Analysis)  คือ  การพิจารณาทิศทางในการดำเนินการและจุดมุ่งหมายของระบบสารสนเทศ  เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้  ผู้วิเคราะห์ต้องรู้ถึงองค์ประกอบของกระบวนการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศ  โดยกำหนดจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานอย่างกว้างๆ  ให้ครอบคลุมสภาพปัญหาไปสู่สภาพที่พึงประสงค์  เพื่อเป็นเกณฑ์ว่างานนั้นสำเร็จดีหรือไม่  มีปัญหาอุปสรรค  ข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไร

 

            2)  วิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนดไว้ในแนวทางปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารสนเทศ

 

            3)  วิเคราะห์งาน  (Task Analysis)  เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการกระทำตามหน้าที่  ที่ได้กำหนดไว้ในขั้นการวิเคราะห์หน้าที่  การวิเคราะห์หน้าที่และงานเป็นสิ่งขยายขั้นการวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติงาน

 

            4) วิเคราะห์วิธีการและสื่อ  (Method-Means Analysis)  เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติ กลวิธี   และสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย  หรือสิ่งที่ต้องการ

ขั้นที่  2  การสังเคราะห์ระบบ  (System Synthesis)

 

            วิธีการสังเคราะห์ระบบช่วยเกลี่ยน้ำหนักเนื้อหาหรือภาระงานของขั้นตอนต่างๆ ให้มีความสมดุลในการแก้ปัญหาซึ่งมีขั้นตอนย่อย  ดังนี้

 

          1)  การเลือกวิธีการหรือกลวิธี เพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธี   เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้ 

 

            2) ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเลือกกลวิธีที่เหมาะสมที่วางแผนแล้วก่อนใช้กลวิธีนั้นดำเนินการแก้ปัญหา

 

            3) ประเมินผลประสิทธิภาพ การดำเนินงานโดยการแก้ปัญหา แล้วประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้

 

ขั้นที่  3  การสร้างแบบจำลอง  (Construct a Model)

 

            แบบจำลองเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด  ออกมาเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น  หรือรูปสามมิติ  แบบจำลองระบบทำให้เข้าใจโครงสร้าง  องค์ประกอบ และขั้นตอนในการดำเนินงาน  สามารถตรวจสอบหรือทำนายผลที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะนำระบบไปใช้จริง ระบบการทำงานแม้จะมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน  แต่อาจจะมีแบบจำลองระบบไม่เหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น